วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

เรื่อง โครงสร้างของพืช ชั้น ป. 5
จัดทำโดย
นางสาว วรัชญา ตรีวิเศษ
เสนอ
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด




จุดประสงค์
1. บอกชื่อส่วนประกอบต่างๆที่เป็นโครงสร้างของพืชได้
2. อธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของพืชได้
3. บอกปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้



ตัวบ่งชี้การเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลอภิปรายและอธิบายโครงสร้างหน้าที่ของโครงสร้างต่างๆของพืช ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์



เนื้อหา
-โครงสร้างของพืช หมายถึง ส่วนประกอบของพืช โดยปกติพืชโดยทั่วไปจะประกอบด้วย ราก ลำต้น และใบ
-เมื่อโตเต็มที่จะออกดอก และดอกจะเจริญเติบโตจนกลายเป็นผล
-พืชหลายๆ ชนิดจะมีลักษณะนานจึงจะออกดอกสักครั้ง จึงทำให้เหมือนกับว่าเป็นพืชไม่มีดอก เช่น กระบองเพชร ตะไคร้ กล้วยไม้บางชนิด
-พืชบางชนิดแม้เจริญเติบโตเต็มที่ นานเท่าไร ก็ยังไม่มีดอก เรียกพืชชนิดนี้ว่า พืชไม่มีดอก พืชชนิดนี้จะประกอบด้วย ราก ลำต้น และใบ


สื่อและเทคโนโลยี
-แผนภาพ
-โปสเตอร์
-สมุดเล่มเล็ก
-หนังสือเรียน

โครงสร้างของพืช ประกอบด้วย
1.ราก
2.ลำต้น
3.ใบ
4.ดอก




ราก ( root) คืออวัยวะของพืชที่ไม่มีคลอโรฟีลล์ ไม่มีข้อ ปล้อง ตาและใบ เจริญเติบโตตามแรงดึงดูดของโลกลงสู่ดิน ทำหน้าที่หลักสำคัญในการยึด ( anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน ดูด ( absorption) น้ำและธาตุอาหารที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น ลำเลียง ( conduction) น้ำและธาตุอาหารรวมทั้งอาหารที่พืชสะสมไว้ในรากขึ้นไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและผลิตฮอร์โมน ( producting hormone) หลายชนิด เช่น ไซโทไคนินและจิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อการเจริญและพัฒนาของส่วนลำต้น ส่วนยอดและส่วนอื่น ๆ ของพืช นอกจากนี้รากพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษอื่น ๆ เช่น สะสมอาหาร หายใจ สังเคราะห์แสง ค้ำจุน ยึดเกาะ เป็นต้น



ลำต้น ( stem) เป็นอวัยวะของพืชที่โดยทั่วไปเจริญอยู่เหนือพื้นดิน มีขนาด รูปร่างและลักษณะแตกต่างกันไป ประกอบด้วย ข้อ ปล้อง และตา มีหน้าที่หลักสำคัญ คือ เป็นแกนช่วยพยุง ( support) อวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอก ผลและเมล็ด ช่วยให้ใบกางออกรับแสงแดดเพื่อประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงและเป็นตัวกลางในการลำเลียง ( conduction) น้ำ ธาตุอาหารและเนื้อเยื่อและอวัยวะของพืช เช่น ใบ ดอก ผล ขึ้นมาใหม่ ตลอดจนอาจทำหน้าที่พิเศษ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง สืบพันธุ์ เปลี่ยนไปเป็นมือพันเพื่อช่วยพยุงค้ำจุนลำต้น สร้างสารบางชนิด เช่น แทนนิน น้ำยางและเรซิน เป็นต้น



ใบ ( leaf) คืออวัยวะของพืชหรือรยางค์ที่เจริญออกมาจากข้อของลำต้นและกิ่ง ใบส่วนใหญ่จะมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์ มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ทำหน้าที่หลักในการสังเคราะห์แสง หายใจและคายน้ำ นอกจากนี้ใบยังอาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษอื่น ๆ เช่น สะสมอาหาร สืบพันธุ์ ช่วยยึดและค้ำจุนตามลำดับ ป้องกันยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นต้น




ดอก ( flower) คือ อวัยวะสืบพันธุ์ ( reproductive organ) ของพืชชั้นสูง ทำหน้าที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีกำเนิดมาจากตาชนิดตาดอก ( floral bud) หรือตาผสม ( mixed bud) ที่อยู่ตรงบริเวณปลายยอด ปลายกิ่ง บริเวณลำต้นหรือมุมระหว่างใบกับลำต้นหรือกิ่งตามแต่ชนิดของพืช



ผล ( fruit) คือรังไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ( mature ovary) รังไข่ดังกล่าวอาจเจริญเปลี่ยนแปลงมาภายหลังการปฏิสนธิ ซึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในหรือเจริญมาโดยไม่ได้รับการปฏิสนธิหรือ พาร์ทีโนคาร์ปี ( parthenocarpy) ผลประเภทหลังนี้โดยทั่วไปจะไม่มีเมล็ด เรียกว่า ผลพาร์ทีโนคาร์ปิก ( parthenocarpic fruit) ผลของพืชบางชนิดอาจมีส่วนอื่น ๆ ของดอกเจริญควบคู่มากับรังไข่และกลายเป็นส่วนหนึ่งของผลด้วย เช่น มังคัด แอปเปิล ฝรั่ง ทับทิม มีกลีบเลี้ยงรวมอยู่ ชมพู่ แอปเปิ้ิล และมะเดื่อมีส่วนของฐานดอกรวมอยู่ เป็นต้น